สัมมาปฏิปทา

อารัมภกถา

วันนี้พวกท่านทั้งหลายได้ตั้งใจมาอบรมที่วัดวนโพธิญาณ(เขื่อนสิรินธร)สถานที่ก็สงบระงับเป็นอย่างดีแต่ว่าสถานที่สงบนั้นถ้าเราไม่สงบมันก็ไม่มีความหมายทุกๆแห่งสถานที่มันสงบทั้งนั้นแหละที่มันไม่สงบก็เพราะคนเราแต่คนที่ไม่สงบไปอยู่ที่สงบก็เกิดความสงบได้สถานที่มันก็อย่างเก่าของมันนั่นแหละแต่ว่าเราต้องปฏิบัติให้ถึงความสงบนั้น

ฝึกยากลำบากจริงหนอใจมนุษย์

ให้พวกท่านทั้งหลายเข้าใจว่าการปฏิบัตินี้เป็นของยากฝึกอะไรอย่างอื่นๆทุกอย่างมันก็ไม่ยากมันก็สบายแต่ใจของมนุษย์ทั้งหลายนี้ฝึกได้ยากฝึกได้ลำบากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราท่านก็ฝึกจิตจิตนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากอะไรทั้งหมดในรูปธรรมนามธรรมนี้มันรวมอยู่ที่จิตเช่นว่าตาหูจมูกลิ้นกายเหล่านี้ส่งไปให้จิตอันเดียวเป็นผู้บริหารการงานรับรู้รับฟังผิดชอบจากอายตนะทั้งหลายเหล่านั้นฉะนั้นการอบรมจิตนี้จึงเป็นของสำคัญถ้าใครอบรมจิตของตนให้สมบูรณ์บริบูรณ์แล้วปัญหาอะไรทุกอย่างมันก็หมดไปที่มันมีปัญหาอยู่ก็เพราะจิตของเรานี้เองยังมีความสงสัยไม่มีความรู้ตามความเป็นจริงจึงเป็นเหตุให้มีปัญหาอยู่

ธรรมะเป็นของบริบูรณ์และสมบูรณ์

ฉะนั้นให้เข้าใจว่าอาการทั้งหลายที่จะต้องปฏิบัตินั้นพวกท่านทั้งหลายก็ได้เตรียมมาพร้อมแล้วทุกคนจะยืนจะเดินจะนั่งจะนอนที่ไหนอุปกรณ์ที่ท่านทั้งหลายจะนำไปปฏิบัตินั้น...พร้อมไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ตามพร้อมอยู่มีอยู่เป็นของพร้อมอยู่เหมือนกันกับธรรมะธรรมะนี้เป็นของพร้อมอยู่ทุกสถานที่อยู่ที่นี้ก็พร้อมอยู่ในส้วมก็พร้อมบนบกก็พร้อมในน้ำก็พร้อมอยู่ที่ไหนมันพร้อมอยู่ทั้งนั้นแหละธรรมะเป็นของสมบูรณ์บริบูรณ์แต่ว่าการประพฤติปฏิบัติของเรานี้ยังไม่พร้อม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราท่านมีรากฐานให้เราทั้งหลายปฏิบัติให้รู้ธรรมะไม่เป็นของมากมันเป็นของน้อยแต่เป็นของที่ถูกต้องเช่นว่าจะเปรียบเทียบให้ฟังเรื่องขนถ้าเรารู้จักว่าอันนี้มันเป็นขนรู้จักขนเส้นเดียวเท่านั้นขนในร่างกายเรานี้ทุกเส้นแม้ในร่างกายคนอื่นทุกเส้นก็รู้กันหมดทั้งนั้นแหละรู้ว่าเป็นขนทั้งนั้นหรือเส้นผมรู้จักผมเส้นเดียวเท่านั้นผมบนศีรษะของเราบนศีรษะของคนอื่นก็รู้หมดทุกเส้นเหมือนกันที่รู้ก็เพราะว่ามันเป็นเส้นผมเหมือนกันเรารู้ผมเส้นเดียวแต่ก็รู้ทุกเส้นผมหรือจะเปรียบประหนึ่งว่าเรารู้จักกับคนลักษณะของคนเหมือนตัวเรานี้จะพิจารณาสกลกายทุกประการนั้นเห็นแจ่มแจ้งในคนๆเดียวคือตัวเราพบเห็นสภาวะทั้งหลายในตัวเราคนเดียวเท่านี้คนในสกลโลกสกลจักรวาลนี้เราก็รู้กันหมดทุกๆคนเพราะว่าคนมันก็เหมือนกันทั้งนั้นธรรมะนี้ก็เป็นอย่างนี้เป็นของน้อยแต่ว่ามันเป็นของมากคือความจริงพบสิ่งเดียวแล้วมันก็พร้อมกันไปหมดเมื่อเรารู้ความจริงตามเป็นจริงแล้วปัญหามันก็หมดไป

อย่าปฏิบัติเพราะความอยาก

แต่ว่าการปฏิบัตินี้มันยากมันยากเพราะอะไรมันยากเพราะตัณหาความอยากถ้าไม่อยากก็ไม่ได้ปฏิบัติถ้าปฏิบัติเพราะความอยากก็ไม่พบธรรมะอันนี้มันเป็นปัญหาอยู่อย่างนี้ฉะนั้นในการประพฤติปฏิบัตินี้มันมีความยุ่งยากมีความลำบากถ้าไม่มีความอยากก็ไม่มีกำลังที่จะปฏิบัติถ้าปฏิบัติเพราะความอยากก็วุ่นวายไม่มีความสงบทั้งสองอย่างนี้เป็นเหตุอยู่เสมอดังนั้นท่านทั้งหลายลองคิดดูซิว่าจะทำอะไรๆถ้าไม่อยากทำมันก็ทำไม่ได้มันต้องอยากทำมันถึงทำได้ถ้าไม่อยากจะทำก็ไม่ได้ทำก้าวไปข้างหน้ามันเป็นตัณหาถอยกลับมามันก็เป็นตัณหาทั้งนั้นดังนั้นพระโยคาวจรเจ้าผู้ประพฤติปฏิบัตินี้จึงว่าเป็นของยุ่งยากเป็นของลำบากที่สุดอยู่เหมือนกัน

ธรรมะไม่ใช่ใจเราใจเราไม่ใช่ธรรมะ

ที่เราไม่เห็นธรรมะก็เพราะตัณหาบางทีมันอยากอย่างรุนแรงคืออยากจะเห็นเดี๋ยวนี้ธรรมะนี้ไม่ใช่ใจเราใจเราไม่ใช่ธรรมะธรรมะมันเป็นอย่างหนึ่งใจเรามันเป็นอย่างหนึ่งมันคนละอย่างกันฉะนั้นแม้เราจะคิดอย่างไรก็ตามอันนี้เราชอบเหลือเกินแต่มันไม่ใช่ธรรมะอันนี้เราไม่ชอบมันก็ไม่ใช่ธรรมะไม่ใช่ว่าเราคิดชอบใจอะไรอันนั้นเป็นธรรมะเราคิดไม่ชอบใจอะไรอันนั้นไม่ใช่ธรรมะ......ไม่ใช่อย่างนั้นแท้จริงใจของเรานี้เป็นธรรมชาติอันหนึ่งเท่านั้นอย่างต้นไม้ตามป่านั่นแหละถ้ามันจะเป็นขื่อเป็นแปเป็นกระดานมันก็มาจากต้นไม้แต่ว่ามันเป็นต้นไม้อยู่ไม่ใช่ขื่อไม่ใช่แปมันเป็นต้นไม้อยู่มันเป็นธรรมชาติเท่านั้นก่อนที่จะทำประโยชน์ได้ก็ต้องเอาต้นไม้มาแปรรูปออกไปเป็นขื่อเป็นแปเป็นกระดานเป็นโน่นเป็นนี่เป็นต้นไม้ต้นเดียวกันแต่มันแปรรูปมาเป็นหลายอย่างเมื่อรวมกันมันก็เป็นต้นไม้อันเดียวกันเป็นธรรมชาติถ้าหากว่ามันเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้นมันก็ไม่เกิดประโยชน์ขึ้นเฉพาะกับบุคคลที่ต้องการจิตใจของเราก็เหมือนกันฉันนั้นมันเป็นธรรมชาติอันหนึ่งอยู่อย่างนั้นมันรู้จักการนึกคิดรู้จักสวยไม่สวยตามธรรมชาติของมัน

ฝึกจิตให้รู้ว่าเป็นธรรมชาติ

ฉะนั้นจิตใจเรานั้นจะต้องถูกฝึกอีกครั้งหนึ่งก่อนถ้าไม่ฝึกมันก็ไม่ได้มันเป็นธรรมชาติฝึกให้รู้ว่ามันเป็นธรรมชาติเราก็มาปรับปรุงธรรมชาตินั้นให้ถูกต้องตามความต้องการของมนุษย์คือธรรมะธรรมะนี้จึงเป็นของที่พวกเราทั้งหลายจงปฏิบัติเอาเข้ามาในใจเอาไว้ในใจของเราถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่รู้พูดกันตรงๆง่ายๆอ่านหนังสือเฉยๆก็ไม่รู้เรียนเฉยๆก็ไม่รู้มันรู้อยู่แต่มันไม่รู้ตามที่เป็นจริงคือมันรู้ไม่ถึงอย่างกระโถนใบนี้ใครๆก็รู้ว่ามันเป็นกระโถนแต่ไม่รู้ถึงกระโถนทำไมไม่รู้ถึงกระโถนถ้าผมจะเรียกกระโถนว่าหม้อท่านจะว่าอย่างไรทุกทีที่ผมใช้ท่านว่า"เอาหม้อมาให้ผมด้วยเถอะ"มันก็ต้องขัดใจท่านทุกทีทำไมล่ะก็เพราะว่าท่านไม่รู้กระโถนถึงกระโถนผมจะใช้ให้ท่านเอากระโถนมาแต่บอกให้เอาหม้อมาให้ผมหน่อยท่านก็ไม่พบ"หม้ออยู่ที่ไหนหลวงพ่อ"ก็ชี้ไปที่กระโถนนั่นแหละมันก็ไม่เข้าใจขัดใจกันเท่านั้นปัญหามันก็เกิดขึ้นมาทำไมมันจึงเป็นอย่างนั้นเพราะท่านไม่รู้กระโถนถึงกระโถนถ้าท่านรู้กระโถนถึงกระโถนแล้วมันก็ไม่มีปัญหาอะไรท่านก็จะหยิบวัตถุอันนั้นมาให้ผมเลยทำไมถึงเป็นอย่างนั้นคือกระโถนใบนี้นะมันไม่มีเข้าใจไหมมันมีขึ้นมาเพราะเราสมมติขึ้นว่านี่คือกระโถนมันก็เลยเป็นกระโถนสมมติอันนี้มันรู้กันทั่วประเทศแล้วว่ามันเป็นกระโถนอย่างนี้แต่กระโถนจริงน่ะมันไม่มีหรือใครจะเรียกให้มันเป็นหม้อมันก็เป็นให้เราอย่างนั้นจะเรียกให้เป็นอะไรมันก็เป็นอย่างนั้นนี่เรียกว่า"สิ่งสมมติ"ถ้าเรารู้ถึงกระโถนแล้วเขาจะเรียกว่าหม้อก็ไม่มีปัญหาจะเรียกอะไรมันก็หมดปัญหาแล้วเพราะเรารู้ไม่มีอะไรปิดบังไว้นั่นคือคนรู้จักธรรมะ

ทีนี้ย้อนเข้ามาถึงตัวเราเช่นเขาจะพูดว่า"ท่านนี้เหมือนกับคนบ้านะ""ท่านนี้เหมือนคนไม่พอคนนะ"อย่างนี้เป็นต้นก็ไม่สบายใจเหมือนกันทั้งๆที่ตัวเราไม่เป็นจริงอะไรมันก็ยากอยู่นะอยากได้อยากเป็นเพราะความอยากได้อยากเป็นมันไม่รู้จักพอเพราะไม่รู้ตามความจริงนั่นเองฉะนั้นธรรมะถ้าเรารู้จักตรัสรู้ธรรมตามความเป็นจริงแล้วโลภโกรธหลงมันจึงหมดไปเพราะมันไม่มีอะไรทั้งนั้นอันนี้ควรปฏิบัติ

สงบจิตด้วยการนั่งสมาธิ

ปฏิบัติทำไมมันถึงยากถึงลำบากเพราะว่ามันอยากพอไปนั่งสมาธิปุ๊บก็ตั้งใจว่าอยากจะให้มันสงบถ้าไม่มีความอยากให้สงบก็ไม่นั่งไม่ทำอะไรพอเราไปนั่งก็อยากให้มันสงบเมื่ออยากให้มันสงบตัววุ่นวายก็เกิดขึ้นมาอีกก็เห็นสิ่งที่ไม่ต้องการเกิดขึ้นมาอีกมันก็ไม่สบายใจอีกแล้วนี่มันเป็นอย่างนี้ฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านสอนว่าอย่าพูดให้เป็นตัณหาอย่ายืนให้เป็นตัณหาอย่านั่งให้เป็นตัณหาอย่านอนให้เป็นตัณหาอย่าเดินให้เป็นตัณหาทุกประการนั้นอย่าให้เป็นตัณหาตัณหาก็แปลว่าความอยากถ้าไม่อยากจะทำอะไรเราก็ไม่ได้ทำอันนั้นปัญญาของเราไปถึงที่นี้มันก็เลยอู้เสียปฏิบัติไปไม่รู้จะทำอย่างไรพอไปนั่งสมาธิปุ๊บก็ตั้งความอยากไว้แล้วอย่างพวกเราที่มาปฏิบัติอยู่ในป่านี้ทุกคนต้องอยากมาใช่ไหมนี่จึงได้มาอยากมาปฏิบัติที่นี้มาปฏิบัตินี่ก็อยากให้มันสงบอยากให้มันสงบก็เรียกว่าปฏิบัติเพราะความอยากมาก็มาด้วยความอยากปฏิบัติก็ปฏิบัติด้วยความอยากเมื่อมาปฏิบัติแล้วมันจึงขวางกันถ้าไม่อยากก็ไม่ได้ทำจึงเป็นอยู่อย่างนี้จะทำอย่างไรกับมันล่ะ

สังขารไม่ใช่ของตัวของตน

รูปนามหรือสกลกายเรานี้มันจึงดูได้ยากถ้าหากไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่ใช่ของตนแล้วมันเป็นตัวของใครอันนี้มันถึงแยกยากมันถึงลำบากเราจะต้องอาศัยปัญญาดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านจึงสอนว่าการกระทำก็กระทำด้วยการปล่อยวางการกระทำด้วยการปล่อยวางอันนี้ก็ฟังยากเหมือนกันถ้าจะปล่อยวางก็ไม่ทำเท่านั้นเพราะทำด้วยการปล่อยวางเปรียบง่ายๆให้ฟังเราไปซื้อกล้วยหรือซื้อมะพร้าวใบหนึ่งจากตลาดแล้วก็เดินหิ้วมาอีกคนหนึ่งก็ถาม

"ท่านซื้อกล้วยมาทำไม"

"ซื้อไปรับประทาน"

"เปลือกมันต้องรับประทานด้วยหรือ"

"เปล่า"

"ไม่เชื่อหรอกไม่รับประทานแล้วเอาไปทำไมเปลือกมัน"

หรือเอามะพร้าวใบหนึ่งมาก็เหมือนกัน

"เอามะพร้าวไปทำไม"

"จะเอาไปแกง"

"เปลือกมันแกงด้วยหรือ"

"เปล่า"

"เอาไปทำไมล่ะ"เอ้าจะว่าอย่างไรล่ะเราจะตอบปัญหาเขาอย่างไรทำด้วยความอยากถ้าไม่อยากเราก็ไม่ได้ทำทำด้วยความอยากมันก็เป็นตัณหานี่ถึงให้มันมีปัญญานะอย่างกล้วยใบนั้นหวีนั้นเปลือกมันจะเอาทานด้วยหรือเปล่าไม่ท่านเอาไปทำไมเปลือกมันก็เพราะว่ายังไม่ถึงเวลาเอามันทิ้งมันก็ห่อเนื้อในมันไปอยู่อย่างนั้นถ้าหากว่าเราเอากล้วยข้างในมันทานแล้วเอาเปลือกมันโยนทิ้งไปก็ไม่มีปัญหาอะไรนี่ก็เหมือนกัน

อย่าให้ตัณหาเข้าครอบงำในการปฏิบัติ

การกระทำความเพียรก็เป็นอย่างนั้นพระพุทธเจ้าว่าอย่าทำให้เป็นตัณหาอย่าพูดให้เป็นตัณหาอย่าฉันให้เป็นตัณหายืนอยู่เดินอยู่นั่งอยู่นอนอยู่ทุกประการท่านไม่ให้เป็นตัณหาคือทำด้วยการปล่อยวางเหมือนกับซื้อมะพร้าวซื้อกล้วยมาจากตลาดนั่นแหละเราไม่ได้เอาเปลือกมันมาทานหรอกแต่เวลานั้นยังไม่ถึงเวลาจะทิ้งมันเราก็ถือมันไว้ก่อนการประพฤติปฏิบัตินี้ก็เหมือนกันฉันนั้นสมมุติวิมุตติมันก็ต้องปนอยู่อย่างนั้นเหมือนกับมะพร้าวมันจะปนอยู่ทั้งเปลือกทั้งกะลาทั้งเนื้อมันเมื่อเราเอามาก็เอามาทั้งหมดนั่นแหละเขาจะหาว่าเราทานเปลือกมะพร้าวอย่างไรก็ช่างเขาปะไรเรารู้จักของเราอยู่เช่นนี้เป็นต้นอันความรู้ในใจของตัวเองอย่างนี้เป็นปัญญาที่เราจะต้องตัดสินเอาเองนี้เรียกว่าตัวปัญญาดังนั้นการปฏิบัติเพื่อจะเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไม่เอาเร็วและไม่เอาช้าช้าก็ไม่ได้เร็วก็ไม่ได้จะทำอย่างไรดีไม่มีช้าไม่มีเร็วเร็วก็ไม่ได้มันไม่ใช่ทางช้าก็ไม่ได้มันไม่ใช่ทางมันก็ไปในแบบเดียวกัน

ตั้งใจทำสมาธิเกินไปก็กลายเป็นความอยาก

แต่ว่าพวกเราทุกๆคนมันร้อนเหมือนกันนะมันร้อนพอทำปุ๊บก็อยากให้มันไปไวๆไม่อยากจะอยู่ช้าอยากจะไปหน้าการกำหนดตั้งใจหาสมาธินี้บางคนจึงตั้งใจเกินไปบางคนถึงกับอธิษฐานเลยจุดธูปปักลงไปกราบลงไป"ถ้าธูปดอกนี้ไม่หมดข้าพเจ้าจะไม่ลุกจากที่นั่งเป็นอันขาดมันจะล้มมันจะตายมันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมันจะตายอยู่ที่นี้แหละ"พออธิษฐานตั้งใจปุ๊บก็นั่งมันก็เข้ามารุมเลยพญามารนั่งแพล๊บเดียวเท่านั้นละก็นึกว่าธูปมันคงจะหมดแล้วเลยลืมตาขึ้นดูสักหน่อยโอ้โฮยังเหลือเยอะกัดฟันเข้าไปอีกมันร้อนมันรนมันวุ่นมันวายไม่รู้ว่าอะไรอีกเต็มทีแล้วนึกว่ามันจะหมดลืมตาดูอีกโอ้โฮยังไม่ถึงครึ่งเลยสองทอดสามทอดก็ไม่หมดเลยเลิกเสียเลิกไม่ทำนั่งคิดอาภัพอับจนแหมตัวเองมันโง่เหลือเกินมันอาภัพมันอย่างโน้นอย่างนี้นั่งเป็นทุกข์ว่าตัวเองเป็นคนไม่จริงคนอัปรีย์คนจัญไรคนอะไรต่ออะไรวุ่นวายก็เลยเกิดเป็นนิวรณ์นี่ก็เรียกว่าความพยาบาทเกิดไม่พยาบาทคนอื่นก็พยาบาทตัวเองอันนี้ก็เพราะอะไรเพราะความอยาก

ทำสมาธิด้วยการปล่อยวางอย่าทำด้วยความอยาก

ความเป็นจริงนั้นนะไม่ต้องไปทำถึงขนาดนั้นหรอกความตั้งใจนะคือตั้งใจในการปล่อยวางไม่ต้องตั้งใจในการผูกมัดอย่างนั้นอันนี้เราไปอ่านตำราเห็นประวัติพระพุทธเจ้าว่าท่านนั่งลงที่ใต้ต้นโพธิ์นั้นท่านอธิษฐานจิตลงไปว่า"ไม่ตรัสรู้ตรงนี้จะไม่ลุกหนีเสียแล้วแม้ว่าเลือดมันจะไหลออกมาอะไรก็ตามทีเถอะ"ได้ยินคำนี้เพราะไปอ่านดูแหมเราก็จะเอาอย่างนั้นเหมือนกันจะเอาอย่างพระพุทธเจ้าเหมือนกันนี่ไม่รู้เรื่องว่ารถของเรามันเป็นรถเล็กๆรถของท่านมันเป็นรถใหญ่ท่านบรรทุกทีเดียวก็หมดเราเอารถเล็กไปบรรทุกทีเดียวมันจะหมดเมื่อไหร่มันคนละอย่างกันเพราะอะไรมันถึงเป็นอย่างนั้นมันเกินไปบางทีมันก็ต่ำเกินไปบางทีมันก็สูงเกินไปที่พอดีๆมันหายาก

การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเป็นทางที่ถูกต้อง

อันนี้ผมก็พูดไปตามความรู้สึกของผมหรอกผมปฏิบัติมาเป็นอย่างนี้ก็ปฏิบัติให้ละความอยากถ้าไม่อยากมันจะทำได้หรือมันก็ติดแต่ทำด้วยความอยากมันก็เป็นทุกข์อีกไม่รู้จะทำอย่างไรยังงงเหมือนกันนะทีนี้ผมจึงเข้าใจว่าการปฏิบัติที่ปฏิบัติต่อเนื่องกันไปเป็นของสำคัญมากต้องทำสม่ำเสมอท่านเรียกว่าอิริยาบถสม่ำเสมอคือสม่ำเสมอในการปฏิบัติทำให้มันดียิ่งๆขึ้นไปไม่ใช่ให้มันวิบัติกันปฏิบัติมันเป็นอย่างหนึ่งวิบัติมันเป็นอย่างหนึ่งโดยมากพวกเราทั้งหลายมาทำแต่เรื่องมันเป็นวิบัติกันขี้เกียจไม่ทำขยันจึงทำนี่ผมก็ชอบเป็นอย่างนี้ขี้เกียจไม่ทำขยันจึงทำพวกท่านทั้งหลายคิดดูซิว่าถูกหรือเปล่าขยันจึงทำขี้เกียจไม่ทำมันถูกธรรมะไหมมันตรงไหมมันเหมือนกับคำสอนไหมอันนี้ปฏิปทาของเรายังไม่สม่ำเสมอแล้วขี้เกียจหรือขยันต้องทำอยู่เรื่อยพระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนั้นโดยมากคนธรรมดาเรานั้นขยันจึงค่อยทำขี้เกียจไม่ทำนี่มันเป็นเสียอย่างนี้มันปฏิบัติอยู่แค่นี้ก็เรียกว่ามันวิบัติเสียแล้วมันไม่ใช่ปฏิบัติการปฏิบัติจริงๆแล้วมันสุขก็ปฏิบัติมันทุกข์ก็ปฏิบัติมันง่ายก็ปฏิบัติมันยากก็ปฏิบัติมันร้อนก็ปฏิบัติมันเย็นก็ปฏิบัตินี่เรียกว่าตรงไปตรงมาอย่างนี้ปฏิปทาที่เราต้องยืนหรือเดินหรือนั่งหรือนอนการมีความรู้สึกนึกคิดที่เราจะต้องปฏิบัติในหน้าที่การงานของเรานั้นต้องสม่ำเสมอทำสติให้สม่ำเสมอในอิริยาบถการยืนการเดินการนั่งการนอน

มีสติกำหนดอยู่ในทุกอิริยาบถ

นี่เมื่อพิจารณาดูแล้วก็เหมือนอิริยาบถยืนให้เท่ากับเดินเดินก็เท่ากับยืนยืนก็เท่ากับนั่งนั่งก็เท่ากับนอนนะอันนี้ผมทำแล้วทำไม่ได้ถ้าว่านักปฏิบัตินี้ต้องทำการยืนการเดินการนั่งการนอนให้ได้เสมอกันจะทำได้สักกี่วันล่ะจะยืนให้เสมอกับนั่งยืน๕นาทีนั่ง๕นาทีนอน๕นาทีอะไรทั้งหลายนี้ผมทำไม่นานก็มานั่งคิดพิจารณาใหม่อะไรกันหนออย่างนี้คนในโลกนี้ทำไม่ได้หรอกผมพยายามทำไปค้นคิดไป"อ้อมันไม่ถูกนี่มันไม่ถูก"ดูแล้วมันไม่ถูกทำไม่ได้นอนกับนั่งกับเดินกับยืนทำให้มันเท่ากันจะเรียกว่าอิริยาบถสม่ำเสมอกันแบบท่านบอกไว้ว่าทำอิริยาบถให้สม่ำเสมออย่างนั้นไม่ได้

แต่ว่าเราทำอย่างนี้ได้จิต...พูดถึงส่วนจิตของเราให้มีสติความระลึกอยู่สัมปชัญญะความรู้ตัวอยู่ปัญญาความรอบรู้อยู่อันนี้ทำได้อันนี้น่าจะเอาไปปฏิบัติคือเรียกว่าถ้าเราปฏิบัติเราจะยืนอยู่ก็มีสติเราจะนั่งอยู่ก็มีสติเราจะเดินอยู่ก็มีสติเราจะนอนก็มีสติอยู่สม่ำเสมออย่างนี้อันนี้ไปได้จะเอาตัวรู้ไปเดินไปยืนไปนั่งไปนอนให้เสมอกันทุกอิริยาบถไปได้ดังนั้นเมื่อเราฝึกจิตของเราจิตจะมีความรู้สม่ำเสมอในการปฏิบัติกับทุกอิริยาบถว่าพุทโธพุทโธพุทโธคือความรู้รู้จักอะไรรู้จักภาวะที่ถูกต้องรู้จักลักษณะที่ถูกต้องอยู่เสมอนั้นจะยืนก็มีจิตอยู่อย่างนั้นจะเดินก็มีจิตเป็นอยู่อย่างนั้นเอออันนี้ได้ใกล้เข้าไปเหลือเกินเฉียดๆเข้าไปมากเหลือเกินเรียกว่าจะยืนจะเดินจะนั่งจะนอนอยู่นี้มันมีสติอยู่เสมอทีเดียว

ธรรมที่ควรละธรรมที่ควรปฏิบัติ

อันนี้รู้จักธรรมที่ควรละรู้ธรรมที่ควรปฏิบัติสุขก็รู้ทุกข์ก็รู้เมื่อมันรู้สุขรู้ทุกข์จิตใจเราจะวางตรงที่ว่ามันไม่สุขไม่ทุกข์เพราะว่าสุขนั้นมันก็เป็นทางหย่อนกามสุขัลลิกานุโยโคทุกข์มันก็เป็นทางตึงคืออัตตกิลมถานุโยโคถ้าเรารู้สุขรู้ทุกข์อยู่เรารู้จักสิ่งทั้งสองนี้ถึงแม้ว่าจิตใจเรามันจะเอนไปเอนมาเราก็ชักมันไว้เรารู้อยู่ว่ามันจะเอนไปทางสุขก็ชักมันไว้มันจะเอนไปทางทุกข์ก็ชักมันไว้ไม่ให้เอนไปรู้อยู่อย่างนี้น้อมเข้ามาเส้นทางเดียวเอโกธัมโมนี้น้อมเข้ามาในทางที่รู้ไม่ใช่ว่าเราปล่อยไปตามเรื่องของมัน

แต่ว่าเราปฏิบัติกันนี้มันก็อยากจะเป็นอย่างนั้นนะมันปล่อยตามใจถ้าเราปล่อยตามใจมันสบายนะแต่ว่ามันสบายก็เพื่อไม่สบายอย่างมันขี้เกียจทำงานนี่มันก็สบายแต่ว่าเมื่อถึงเวลาจะกินไม่มีอะไรจะกินมันเป็นอย่างนั้นดังนั้นผมก็ไปเถียงคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งมีอยู่หลายบทหลายเหล่าเหมือนกันสู้ท่านไม่ได้ทุกวันนี้ผมก็ยอมรับท่านแล้วยอมรับว่าธรรมะทั้งหลายของท่านถูกต้องทีเดียวฉะนั้นจึงเอาคำสอนของท่านนี้มาอบรมตัวเองและศิษยานุศิษย์ทั้งหลายนี่พูดตามความรู้สึกที่มันเกิดขึ้นมา

ปฏิปทา(การกระทำของเรา)เป็นสิ่งสำคัญ

การปฏิบัติที่สำคัญที่สุดคือปฏิปทาปฏิปทาคืออะไรคือการกระทำของตัวเรานั้นแหละการยืนการเดินการนั่งการนอนทุกประการปฏิปทาทางกายปฏิปทาทางจิตของเรานั่นนะวันนี้มันมีจิตใจเศร้าหมองในการทำงานกี่ครั้งไหมมีใจสบายไหมมีอะไรเป็นอะไรไหมอันนี้เราต้องรู้มันรู้จักตัวเองอย่างนี้รู้แล้วมันวางได้ไหมอันที่มันยังวางไม่ได้ก็พยายามปฏิบัติมันเมื่อมันรู้ว่าวางไม่ได้ก็ถือไว้เพื่อเอาไปพิจารณาด้วยปัญญาเราอีกให้มีเหตุผลค่อยๆทำไปอย่างนี้เรียกว่าการปฏิบัติอย่างเช่นวันนี้มันขยันก็ทำขี้เกียจก็พยายามทำไม่ได้ทำมากก็ให้ได้สักครึ่งหนึ่งก็เอาอย่าไปปล่อยวันนี้ขี้เกียจไม่ทำอย่างนี้ไม่ได้หรอกเสียหายเลยไม่ใช่นักปฏิบัติแล้ว

ทีนี้ผมเคยได้ยิน

"แหมปีนี้ผมแย่เหลือเกิน""ทำไม"

"ผมป่วยทั้งปีไม่ได้ปฏิบัติเลย"โอ้โฮมันจวนจะตายแล้วก็ยังไม่ปฏิบัติอีกจะไปปฏิบัติเมื่อไหร่ล่ะถ้าหากว่ามันสุขจะปฏิบัติไหมมันสุขก็ไม่ปฏิบัติอีกมันติดสุขเท่านั้นแหละแต่ทุกข์มันไม่ปฏิบัติก็ติดทุกข์อยู่นั่นแหละไม่รู้จะไปปฏิบัติกันเมื่อไหร่ได้แต่รู้ว่ามันป่วยมันเจ็บมันไข้จวนจะตายนั่นแหละให้มันหนักๆเถอะที่เราจะต้องปฏิบัติเอาเมื่อเราสบายเกิดขึ้นมามันก็ต้องชูใจของเรายกหูชูหางขึ้นไปสูงๆอีกมันก็ต้องมาปฏิบัติมันอีกสองอย่างนี้หมายความว่าจะเป็นสุขก็ต้องปฏิบัติจะเป็นทุกข์ก็ต้องปฏิบัติจะอยู่สบายๆอย่างนี้ก็ต้องปฏิบัติจะเป็นไข้อยู่ก็ต้องปฏิบัติมันถึงจะถูกแบบถ้าเราคิดอย่างนี้..."ปีนี้ผมไม่ปฏิบัติ""ทำไมไม่ปฏิบัติ""ผมเป็นไข้ไม่สบายครับ"...เออเมื่อมันสบายมันก็ร้องเพลงไปเท่านั้นแหละอย่างนี้มันเป็นความคิดผิดนะไม่ใช่ว่ามันไม่ผิดดังนั้นพระโยคาวจรเจ้าท่านจึงมีปฏิปทาสม่ำเสมอในเรื่องจิตเป็นก็ให้เป็นแต่เรื่องกาย

ประสบการณ์ของหลวงพ่อในการปฏิบัติ

มีระยะหนึ่งที่อาตมาพยายามปฏิบัติตอนนั้นปฏิบัติได้ประมาณห้าพรรษาแล้วก็อยู่กับเพื่อนมากๆแหมมันรำคาญเพื่อนคนนี้ก็พูดอย่างนั้นคนนั้นก็พูดอย่างนี้เรานั่งอยู่กุฏิจะปฏิบัติกรรมฐานก็มีเพื่อนขึ้นไปคุยด้วยวุ่นวายหนีหนีไปคนเดียวว่าเพื่อนกวนเราไม่ได้ปฏิบัติเบื่อ...ไปอยู่ในป่ารกวัดป่าวัดเล็กๆร้างๆไปแล้วละมีหมู่บ้านน้อยๆไปนั่งคนเดียวไม่ได้พูดเพราะอยู่คนเดียวนี่อยู่ได้สักประมาณ๑๕วันก็เกิดความคิดมาอีกแล้ว"แหมอยากได้เณรเล็กๆสักรูปหนึ่งก็ดีนะอยากได้ปะขาวมาสักคนก็ดีนะเพื่อจะได้มาใช้อะไรเล็กๆน้อยๆ"นี่เราก็รู้อยู่ว่ามันจะออกมาท่าไหนออกมาทั้งนั้นละ"เอ!แกนี่ตัวสำคัญนะเบื่อเพื่อนเบื่อภิกษุสามเณรมาแล้วยังอยากเอาเพื่อนมาอีกทำไมเล่า""เปล่า"มันว่า"เอาเพื่อนที่ดี"แน่ะ!"คนดีมีที่ไหนล่ะ"เห็นไหมหาคนดีเห็นไหมคนทั้งวัดมีแต่คนไม่ดีทั้งนั้นแหละดีเราคนเดียวละมั้งเราจึงหนีเขามานี่ต้องตามมันอย่างนี้สะกดรอยมันไปมันรู้สึกขึ้นมาเอออันนี้มันก็สำคัญเหมือนกันนะแล้วคนดีอยู่ที่ไหนละไม่มีคนดีทั้งนั้นแหละคนดีอยู่ที่ตัวเราทุกวันนี้อาตมาก็ยังมาสั่งสอนลูกศิษย์อยู่เสมอว่าคนดีไม่มีที่อื่นอยู่ที่ตัวเราถ้าเราดีเราไปไหนมันก็ดีเขาจะนินทาเขาจะสรรเสริญเราก็ยังดีอยู่เขาจะว่าอะไรทำอะไรเราก็ยังดีอยู่ถ้าเรายังไม่ดีเขานินทาเราเราก็จะโกรธถ้าเขาสรรเสริญเราเราก็จะชอบอย่างเก่าเท่านั้นแหละ

วันนั้นอาตมาภาวนาได้อย่างนั้นมีความรู้สึกอย่างนั้นก็รู้สึกตั้งแต่วันนั้นมารู้ได้ตามเป็นจริงมีความจริงอยู่เท่าทุกวันนี้อันความดีมันอยู่กับตัวเองพอได้เห็นปุ๊บความรู้สึกมันลดลงมันจำตั้งแต่วันนั้นเลยต่อมามีขึ้นมามันก็ปล่อยไปมีขึ้นมามันก็รู้มีขึ้นมามันก็รู้เรื่อยไปอันนี้เป็นรากฐานเราจะไปอยู่ที่ไหนคนเขาจะรังเกียจหรือคนเขาจะว่าอะไรก็ถือว่าไม่ใช่เขาดีหรือเขาชั่วถ้ามันดีมันชั่วคือตัวเรานี้คนอื่นมันเรื่องของคนอื่นเขามันเป็นอยู่อย่างนั้นอย่าไปเข้าใจว่าแหมวันนี้มันร้อนวันนี้มันเย็นวันนี้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้นะวันมันจะเป็นอย่างไรมันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้นความจริงตัวเรามันเสือกไสไปให้โทษเขาเท่านั้นท่านว่าเห็นธรรมะเกิดกับตัวเองนี่แหละมันแน่นอนและได้ความสงบระงับด้วย

ขอให้พึงตามดูจิตอย่างสม่ำเสมอ

ฉะนั้นพวกเราท่านทั้งหลายที่ได้มาอบรมในวันนี้แม้ไม่กี่วันอาตมานึกว่าคงจะมีอะไรขึ้นมาหลายอย่างมีขึ้นมาก็ยังไม่รู้มันมีเยอะแยะนะไม่ใช่ว่าเรารู้มันนะที่ไม่รู้มันก็เยอะแยะคิดถูกก็มีคิดผิดก็มีอะไรหลายๆอย่างที่มันเป็นมาฉะนั้นการปฏิบัติจึงว่ามันยากถึงแม้พวกท่านทั้งหลายจะนั่งมันสงบไปบ้างก็อย่าคิดสรรเสริญมันมันจะมีความวุ่นวายไปบ้างก็อย่าไปให้โทษมันถ้ามันดีก็อย่าพึงไปชอบมันถ้ามันไม่ดีก็อย่าพึงไปรังเกียจมันพากันดูไปเถอะให้ท่านดูของท่านไปดูไปอย่าพึงไปว่ามันถ้ามันดีก็อย่าพึงไปจับมันชั่วก็อย่าพึงไปจับมันเดี๋ยวมันจะกัดนะดีมันก็กัดชั่วมันก็กัดอย่าพึงไปจับมันฉะนั้นการปฏิบัตินี้จึงว่านั่งนั่นแหละปฏิบัตินั่งดูไปมันมีอารมณ์ดีอารมณ์ชั่วสลับซับซ้อนกันไปเป็นธรรมดาของมันอย่าไปสรรเสริญจิตของเราอย่างเดียวอย่าไปให้โทษมันอย่างเดียวให้รู้จักกาลรู้จักเวลามันเมื่อถึงคราวสรรเสริญก็สรรเสริญมันหน่อยสรรเสริญให้พอดีอย่าให้หลงเหมือนกับสอนเด็กนั่นแหละบางทีก็เฆี่ยนมันบ้างเอาไม้เรียวเล็กๆเฆี่ยนมันไม่เฆี่ยนไม่ได้วันนี้บางทีก็ให้โทษมันบ้างอย่าให้โทษมันเรื่อยไปให้โทษมันเรื่อยไปมันก็ออกจากทางเท่านั้นแหละถ้าให้สุขมันให้คุณมันเรื่อยๆมันไปไม่ได้การประพฤติปฏิบัติไม่ใช่อย่างนั้นเราปฏิบัติไปตามสายกลางสายกลางคืออะไรสายกลางนี้มันยากจะเอาจิตของเราเป็นประมาณจะเอาตัณหาของเราเป็นประมาณไม่ได้

ขอให้เห็นว่าทุกอิริยาบถเป็นการปฏิบัติ

ฉะนั้นการปฏิบัติของท่านทั้งหลายนี้อย่าพึงถือว่าการนั่งหลับตาอย่างเดียวเป็นการปฏิบัติเมื่อออกจากนั่งแล้วก็ออกจากการปฏิบัติอย่าเข้าใจอย่างนั้นถ้าเข้าใจอย่างนั้นก็รีบกลับมันเสียที่เรียกว่าการปฏิบัติสม่ำเสมอคือเราจะยืนจะเดินจะนั่งจะนอนให้มีความรู้สึกอยู่อย่างนั้นเมื่อเราจะออกจากสมาธิก็อย่าเข้าใจว่าออกจากสมาธิเพียงแต่เปลี่ยนอิริยาบถเท่านั้นถ้าท่านทั้งหลายคิดอย่างนี้ก็จะสุขใจเมื่อท่านไปทำงานอยู่ที่ไหนไปทำอะไรอยู่ก็ดีท่านจะมีการภาวนาอยู่เสมอมีเรื่องติดใจมีความรู้สึกอยู่เสมอถ้าหากท่านองค์ใดตอนเย็นๆก็มานั่งเมื่อออกจากสมาธิแล้วก็เรียกว่าได้ออกแล้วไม่มีเยื่อใยออกไปเลยส่งอารมณ์ไปเลยตลอดทั้งวันก็ปล่อยอารมณ์ตามอารมณ์ไปไม่มีสติเย็นต่อไปนึกอยากจะนั่งพอไปนั่งปุ๊บก็มีแต่เรื่องใหม่ทั้งนั้นเข้ามาสุมมันปัจจัยเรื่องเก่าที่มันสงบก็ไม่มีเพราะทิ้งมันไว้ตั้งแต่เช้ามันก็เย็นนะซิทำอย่างนี้เรื่อยๆมันก็ยิ่งห่างไปทุกปีๆ

อาตมาเห็นลูกศิษย์บางองค์ก็ถามว่า"เป็นยังไงภาวนา"เขาตอบ"เดี๋ยวนี้หมดแล้วครับ"นี่เอาสักเดือนสองเดือนยังอยู่พอสักปีสองปีมันหมดแล้วทำไมมันหมดก็มันไม่ยึดหลักอันนี้ไว้เมื่อนั่งแล้วก็ออกจากสมาธิทำไปๆนั่งน้อยไปทุกทีๆนั่งเดี๋ยวเดียวก็อยากออกนั่งประเดี๋ยวก็อยากออกนานๆเข้าก็ไม่อยากจะนั่งเลยเหมือนกับการกราบพระเมื่อเวลาจะนอนก็อุตส่าห์กราบกราบไปเรื่อยๆบ่อยๆนานๆใจมันห่างแล้วต่อไปไม่ต้องกราบดูเอาก็ได้นานๆก็เลยไม่กราบดูเอาเท่านั้นแหละมันจะส่งเราออกนอกคอกไม่รู้เรื่องอะไรนี่ให้เราทั้งหลายรู้ว่ามีสติมีไว้ทำไมให้เป็นผู้ศึกษาสม่ำเสมออย่างนั้น

การปฏิบัตินี้จึงเป็นการปฏิบัติสม่ำเสมอจะยืนจะเดินจะนั่งจะนอนมันเป็นของมันเสียจริงๆคือการทำเพียรการภาวนามันเป็นที่จิตไม่ใช่เป็นที่กายของเราจิตของเรามันเลื่อมใสอยู่จิตของเรามันตรงอยู่มันมีกำลังอยู่มันรู้อยู่ที่จิตนั้นจิตนั้นมันเป็นสิ่งสำคัญมากการยืนการเดินการนั่งการนอนอิริยาบถทั้งหลายนั้นมารวมที่จิตจิตเป็นตัวรับภาระทำการงานมากเหลือเกินเกือบทุกสิ่งทุกส่วน

เมื่อมีสติจิตใจจักสงบได้ง่าย

ฉะนั้นเมื่อเราเข้าใจถูกมันก็ทำถูกเมื่อทำถูกแล้วมันก็ไม่ผิดถึงทำแต่น้อยมันถูกน้อยเช่นว่าเมื่อเราออกจากสมาธิแล้วก็รู้สึกว่าวันนี้เรายังไม่ออกเราเปลี่ยนอิริยาบถมันตั้งอยู่อย่างเก่านั่นแหละจะยืนจะเดินจะเหินไปมามันก็มีสติอยู่สม่ำเสมอถ้าเรามีความรู้อย่างนั้นกิจธุระภายในใจของเราก็ยังมีอยู่ถ้าเรานั่งตอนเย็นวันใหม่มานั่งลงไปมันก็เชื่อมกันได้ติดต่อกันไปได้มันก็มีกำลังมิได้ขาดมันเป็นอย่างนั้นมันก็ต้องสงบติดต่อกันอยู่อย่างนั้นอันนี้เรียกว่าปฏิปทาสม่ำเสมอในจิตนั้นถ้าจิตใจของเรามีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอแล้วสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นไปเองมันค่อยๆเป็นไปเองจิตใจมันจะสงบก็เพราะจิตใจมันรู้จักผิดถูกมันรู้จักเหตุการณ์ของมันมันถึงจะสงบได้

เช่นว่าศีลก็ดีสมาธิก็ดีจะดำเนินอยู่ได้มันก็ต้องมีปัญญาบางคนเข้าใจว่าปีนี้ผมจะตั้งใจรักษาศีลปีหน้าจะทำสมาธิปีต่อไปจะทำปัญญาให้เกิดอย่างนี้เป็นต้นเพราะเข้าใจว่ามันคนละอย่างกันปีนี้จะทำศีลใจไม่มั่นจะทำได้อย่างไรปัญญาไม่เกิดจะทำได้อย่างไรมันก็เหลวทั้งนั้นแหละความเป็นจริงนั้นมันก็อยู่ในจุดเดียวกันศีลก็ดีสมาธิก็ดีปัญญาก็ดีเมื่อเรามีศีลขึ้นมาสมาธิก็เกิดขึ้นเท่านั้นสมาธิเราเกิดขึ้นมาปัญญามันก็เกิดเท่านั้นมันเป็นวงกลมครอบกันอยู่อย่างนี้มันเป็นอันเดียวกันเหมือนมะม่วงใบเดียวกันเมื่อมันเล็กมันก็เป็นมะม่วงใบนั้นเมื่อมันโตมามันก็เป็นมะม่วงใบนั้นเมื่อมันสุกมามันก็เป็นมะม่วงใบนั้นถ้าเราคิดกันง่ายๆอย่างนี้มันก็เป็นธรรมะที่เราต้องปฏิบัติไม่ต้องเรียนอะไรมากมายให้เรารู้มันเถิดรู้ตัวจริงสิ่งทั้งหลายเหล่านี้รู้ข้อปฏิบัติของตัวเอง

การทำสมาธิจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวเรา

ฉะนั้นการทำสมาธินี้บางคนไม่ได้ตามปรารถนาแล้วก็เลิกก็หยุดหาว่าตนไม่มีบุญวาสนาแต่ว่าไปทำชั่วได้บารมีชั่วทำได้บารมีดีๆทำไม่ค่อยได้เลิกเลยปัจจัยมันน้อยมันเป็นกันเสียอย่างนี้แหละพวกเราไปเข้าข้างแต่อย่างนั้นล่ะดังนั้นเมื่อท่านมีโอกาสมาประพฤติปฏิบัติแล้วถึงแม้ว่าสมาธิมันทำยากหรือมันทำง่ายหรือมันไม่ค่อยเป็นสมาธิมันก็เป็นเพราะเราไม่ใช่เป็นเพราะสมาธิมันเป็นเพราะเราทำไม่ถูกมันฉะนั้นการทำเพียรนี้ท่านจึงได้ว่าเป็นสัมมาทิฏฐิรู้มันเสียก่อนว่าเป็นสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบเมื่อความเห็นชอบอะไรมันก็ชอบไปหมดสัมมาทิฏฐิสัมมาสังกับโปสัมมากัมมันโตสัมมาทุกอย่างทั้ง๘ประการนั้นมีสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นอันเดียวเท่านั้นมันก็เชื่อมกันไปเลยสม่ำเสมอกันไปเรื่อยๆมันเป็นอย่างนั้น

อ่านใจตนเองสำคัญกว่าอ่านหนังสือ

อย่างไรก็ตามเถอะอย่าไปไล่มันออกไปข้างนอกเลยให้มันดูข้างในอย่างนี้ดีกว่ามันเห็นชัดอย่าพึงไปอ่านข้างนอกทางที่ดีที่สุดนั้นตามความเข้าใจผมนะไม่อยากจะให้อ่านหนังสือเลยเอาหนังสือใส่หีบปิดให้มันดีเสียอ่านใจของตนเท่านั้นที่เราดูหนังสือมานี้ก็ตั้งแต่วันขึ้นโรงเรียนมาเรียนกันทั้งนั้นดูแต่หนังสือกันจะเป็นจะตายผมว่ามันมีโอกาสมีเวลามากเหลือเกินเวลาเช่นนี้เอาหนังสือใส่หีบปิดให้มันดีเสียเลยอ่านใจเท่านั้นแหละเมื่อมันเกิดอะไรขึ้นมาในใจของเรานี่มันเกิดเป็นอารมณ์ขึ้นมาที่เราชอบใจไม่ชอบใจก็ตามเราเห็นว่ามันผิดมันถูกก็ตามเถอะให้เราตัดมันไปเลยว่าอันนี้มันไม่แน่จะเกิดอะไรขึ้นมาก็ช่างมันเถอะสับมันลงไปไม่แน่ๆอย่างเดียวขวานเล่มเดียวสับมันลงไป"ไม่แน่"ทั้งนั้นแหละ

มองให้เห็นว่า"มันเป็นอย่างนั้นเอง"

ตลอดในเดือนหนึ่งที่มาพักอยู่ในวัดป่านี้อาตมาว่ามันมีกำไรมากเหลือเกินจะได้เห็นของจริงตัวไม่แน่คือตัวสำคัญนะตัวให้เกิดปัญญานะยิ่งตามมันไม่แน่ตัวไม่แน่ที่สับมันไปมันจะเวียนไปเวียนไปแล้วมาพบอีกเออไม่แน่จริงๆมันโผล่มาเมื่อไรเอาป้ายปิดหน้ามันไว้ว่ามันไม่แน่ติดป้ายมันไว้ปุ๊บมันไม่แน่ดูไปๆเดี๋ยวมันก็เวียนมาอีกเวียนมาครบรอบเออ...อันนี้ไม่แน่ขุดเอาตรงนั้นมันก็ไม่แน่เห็นคนๆเดียวกันที่มาหลอกเราอยู่กระทั่งเดือนกระทั่งปีกระทั่งเกิดกระทั่งตายคนๆเดียวมาหลอกเราอยู่เท่านั้นเราจะเห็นชัดอย่างนี้มันจะเห็นว่าอ้อมันเป็นอย่างนั้นเอง

เมื่อเราไม่หลงอารมณ์เราก็ไม่หลงโลก

ทีนี้เมื่อมันเป็นอย่างนั้นเราก็ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้งหลายเพราะว่ามันไม่แน่เคยเห็นไหมดูซินาฬิกาเรือนนี้แหมสวยเหลือเกินซื้อมาเถอะไม่กี่วันก็เบื่อมันแล้วไม่กี่เดือนก็เบื่อมันแล้วเสื้อตัวนี้ซื้อมาชอบมันเหลือเกินก็เอามาใส่ไม่กี่วันทิ้งมันเสียแล้วมันเป็นอยู่อย่างนี้มันแน่ที่ตรงไหนล่ะนี่ถ้าเห็นมันไม่แน่ทุกสิ่งทุกอย่างราคามันก็น้อยลงอารมณ์ทั้งหลายนั้นเป็นอารมณ์ที่ไม่มีราคาแล้วของที่ไม่มีราคาแล้วเราจะเอาไปทำไมเก็บมันไว้ก็เหมือนผ้าเราขาดก็เอามาเช็ดหม้อข้าวเอามาเช็ดเท้าเท่านั้นเห็นอารมณ์ทั้งหลายมันก็สม่ำเสมอกันอย่างนั้นมันเป็นอย่างนั้นมันเป็นสามัญลักษณะมีอะไรก็เสมอกันอย่างนั้นเมื่อเราเห็นอารมณ์ทุกอย่างเป็นเช่นนั้นเราก็เห็นโลกโลกนั้นคืออารมณ์อารมณ์นั้นก็คือโลกเราไม่หลงอารมณ์ก็ไม่หลงโลกไม่หลงโลกเราก็ไม่หลงอารมณ์เมื่อจิตเป็นเช่นนี้จิตก็มีที่อาศัยจิตก็มีรากฐานจิตก็มีปัญญาหนาแน่นจิตอันนี้จะมีปัญญาน้อยแก้ปัญหาได้ทุกประการเมื่อปัญหามันหมดไปความสงสัยมันก็หมดไปอย่างนี้ความสงบมันก็ขึ้นมาแทนอันนี้เรียกว่าการปฏิบัติถ้าปฏิบัติกันจริงๆก็ต้องเป็นอย่างนั้น